ขนาดใหญ่จำนวนหลายชุด ที่ใส่ขนานเข้ามาในระบบไฟฟ้าเพื่อทำหน้าที่
ปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของระบบให้มีค่าสูงขึ้นเพื่อที่จะไม่ต้องเสียค่าปรับและลดกำลังงานสูญเสียในระบบ
ส่วนประกอบภายใน Capacitor Bank ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF. Controller)
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) และอุปกรณ์ตัดต่อตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Magnetic Contractor)
โดยจำนวนหรือขนาดของคาปาซิเตอร์ที่ต้องการต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับค่ากำลังงานรีแอคทีฟที่เกิดขึ้นในระบบในขณะนั้น
โดย PF. Controller จะทำการตรวจวัดค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของระบบ
และจะสั่งการให้ Magnetic Contractor ต่อหรือปลดคาปาซิเตอร์จากระบบเพื่อให้ได้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ตามต้องการ
เมื่อระบบไฟฟ้ามีค่า Power Factor (P.F) ต่ำ จะส่งผลให้ความสามารถในการจ่ายไฟฟ้า (capacity) ของหม้อแปลงลดลง
และถ้าความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดของหม้อแปลงใกล้เต็มแล้ว
ก็จะทำให้ไม่สามารถ จ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้ แม้ว่ากำลังไฟฟ้า (kW) ที่ใช้อยู่จะยัง ไม่เต็มก็ตาม
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้สายไฟยาวมาก ก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟมีค่าสูงขึ้นและความร้อนในสายเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เกิดค่าสูญเสีย (losses) ตามขนาดของกระแสยกกำลังสอง และที่สำคัญผู้ใช้ไฟฟ้า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับการไฟฟ้า
คือค่า reactive power (kVAR charge) ในส่วนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน 0.85 อีกด้วย
ดังนั้นเพื่อควบคุมค่า P.F. ในโรงงานไม่ให้ต่ำกว่า 0.85 จึงต้องมีการติดตั้ง Capacitor Bank เพิ่มเข้าไปในระบบไฟฟ้า
โดยทั่วไปแล้วการไฟฟ้าจะกำหนด ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้ง Capacitor Bank มีขนาดไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 30% ของขนาดหม้อแปลงไฟฟ้า
และต้องสัมพันธ์กับลักษณะโหลดทางไฟฟ้าที่ใช้อยู่ คือ – ถ้าเป็น Inductive Load เช่น induction motor
ขนาดของ Capacitor Bank อาจจะต้องเพิ่มขึ้น – ถ้าเป็น Resistive Load เช่น เครื่องทำความร้อน ขนาดของ Capacitor Bank อาจจะต้องลดลง
ข้อดีของ Capacitor Bank ต่อระบบไฟฟ้า
1. ช่วยลดค่าปรับจากการไฟฟ้าเนื่องจากค่า Power Factor ต่ำกว่า 0.85
กรณีที่ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้มีค่า P.F. ต่ำ การไฟฟ้าจะต้องรับภาระในการจ่าย reactive power เป็นจำนวนมาก
ต้องใช้เครื่องกำเนิด ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งทรัพยากรที่มากขึ้นเพื่อที่จะสามารถผลิต กำลังไฟฟ้าทั้งใน
ส่วน Active และ Reactive Power ตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ที่จริงแล้ว reactive power
ผู้ใช้สามารถสร้างเองได้โดยใช้ capacitor ดังนั้นการไฟฟ้าจึงออกกฎเพื่อควบคุมค่า P.F. ของโรงงานต่าง ๆ
โดยกำหนดว่า “ หากโรงงานใดมีค่า P.F. ที่ต่ำกว่า 8.5 จะต้องเสียค่าปรับ Power Factor ”
2. ช่วยลดโหลดของหม้อแปลง
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีเพิ่มปริมาณโหลดขึ้นเรื่อย ๆ กับหม้อแปลงตัวเดิมจะส่งผลให้หม้อแปลงต้องจ่ายกระแสเกินพิกัด (Overload)
ทางแก้ไขวิธีหนึ่งคือ ติดตั้งหม้อแปลงเพิ่มขึ้น แต่การติดตั้ง Capacitor Bank ก็สามารถช่วยลดโหลดของหม้อแปลงนั้นได้
คือ จากเดิมหม้อแปลงต้องรับภาระจ่ายค่า Reactive Power เองทั้งหมด ถ้ามีการติดตั้ง Capacitor Bank
ก็จะช่วยรับภาระในส่วนนี้แทน ทำให้หม้อแปลงตัวนั้นมีกำลังเหลือเฟือเพื่อที่จะจ่ายให้กับโหลดส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
3. ช่วยลดค่าไฟฟ้าที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนในสายไฟและหม้อแปลง
การติดตั้ง Capacitor Bank จะช่วยลดกำลังสูญเสียในสายไฟและหม้อแปลงไฟฟ้า จึงเป็นการประหยัดพลังงาน
อีกทั้ง ยังลดความร้อนที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ แต่ทว่าในประเทศไทยนิยม ติดตั้งตู้ Capacitor Bank ติดกับตู้ MDB
หรือก็คือใกล้กับหม้อแปลงมาก จึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ในการช่วยลดประมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลในระบบไฟฟ้าได้อย่างชัดเจน
ทำไมต้องมี ตู้แคปแบงค์ capacitor bank
โดยส่วนมากอาคารหรือโรงงานที่มีการใช้โหลดที่เป็น inductive load มากๆ
เช่น induction motor ในเครื่องจักร ปั้มน้ำ ชิลเลอร์ หรือคอนเวย์เยอร์
จะมีผลทำให้ค่า power factor ต่ำกว่ามาตรฐาน คือ 0.85
ผลเสียที่เกิดขึ้นคือ ประสิทธิภาพในการจ่ายโหลดจะลดน้อยลง
เกิดกระเเสสูงในสาย และเกิดความร้อนในสายไฟ
และทำให้เกิดความสูญเสียพลังงานไปในรูปแบบของความร้อน
เรายังต้องจ่ายค่าปรับpfให้กับการไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปรับปรุงค่า reactive power
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขคุณภาพไฟฟ้าโดยการติดตั้ง capacitor bank
ที่ควบคุมการทำงานโดย capacitor controller
ซึ่งจะควบคุมการสตาร์ท คาปาซิเตอร์ ตามความเหมาะสมเป็นสเต็ป
และการเลือกคาปาซิเตอร์ จะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 30% ของขนาดหม้อแปลง
ตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด
ข้อดีที่จะเกิดขึ้นเมื่อติดตั้ง capacitor bank อย่างเหมาะสมคือ
1. ปรับปรุงค่าpfให้มีค่าไกล้เคียงมาตรฐาน
2. แก้ปัญหาฮาโมนิกที่เกิดขึ้น
3. ลดปัญหาไฟตก ไฟกระเพื่อม ที่เกิดขึ้นในระบบ