ตู้สวิทช์บอร์ด MDB (Main Distribution Board)

       เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าจํานวนมาก โดยรับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำ ของ หม้อแปลงจําหน่าย แล้วจ่ายโหลดไปยังแผงย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร สวิทช์บอร์ดอาจเรียก อีกชื่อหนึ่งว่า Main Distribution Board (MDB) ตู้ MDB ส่วนมากมีขนาดใหญ่ จึงมักวาง บนพื้น มีหลายแบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กัับบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ ควรพิจารณาจากระดับแรงดัน พิกัดกระแส และพิกัดกระแสลัดวงจรด้วย

ส่วนประกอบหลักของสวิทช์บอร์ด

  1. โครงตู้ (Enclosure)
  2. บัสบาร์ (Busbar)
  3. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
  4. เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)
  5. อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)

โครงตู้สวิตช์บอร์ด (Enclosure) 
       ทํามาจากแผ่นโลหะประกอบเป็นโครงตู้ ซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้า หรือเปิดได้ทุกด้าน ขึ้นอยู่กับการออกแบบโดยมีคุณสมบัติที่สําคัญคือ

  1. คุณสมบัติทางกล คือรับแรงทางกลจากภายนอกได้เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งภาวะปกติ และไม่ปกติได้
  2. คุณสมบัติทางความร้อนคือทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติในระบบและ อาร์กจากการลัดวงจรได้
  3. คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้ นอกจากนี้ โครงตู้ยังทําหน้าที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ
    1. ป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ใกล้สวิทช์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ
    2. ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากสิ่งต่าง ๆ ภายนอกเช่น น้ำ วัตถุแข็ง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น
    3. ป้องกันอันตรายจากการอาร์กที่รุนแรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา

บัสบาร์ (Busbar) 
       มีทั้งชนิดที่ตัวนําทําด้วยทองแดงและอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นแบบ Flat คือ มีพื้นที่หน้าตัด เป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่าย ระบายความร้อนดี แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. บัสบาร์แบบเปลือย
  2. บัสบาร์แบบทาสี

ข้อแนะนําในการใช้บัสบาร์

  1. บัสบาร์ควรวางในแนวดิ่งจึงจะระบายความร้อนได้ดี
  2. บัสบาร์แบบ Flat ควรขนานกันไม่เกิน 4 แท่ง ถ้ามากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่อง Skin Effect
  3. บัสบาร์แบบทาสี สีที่ใช์ทาเคลือบบัสบาร์ ควรมีสัมประสิทธิ์การระบายความร้อนสูงประมาณ 0.9
  4. บัสบาร์แบบทาสีนํากระแสได้สูงกว่าบัสบาร์แบบเปลือย
  5. กําหนดให้ใช้สีแดง เหลือง น้ำเงิน สําหรับเฟส R, Y, B ตามลําดับ
  6. การเรียงเฟสในสวิทช์บอร์ด (R, Y, B) ให้เรียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังตู้ จากบนลงล่าง หรือจาก ซ้ายไปขวา
  7. การเรียงเฟสลักษณะอื่นอนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่แล้ว แต่ต้องทําเครื่องหมาย ให้เห็นชัดเจน